ป้อมมหากาฬ

ป้อมมหากาฬ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : พ.ศ.2326 สมัยรัชกาลที่ 1

สยามประเทศนั้นมิได้มีการก่อตั้งประเทศขึ้นมาอย่างง่ายดาย หากแต่ประเทศของเรานั้นก่อกำเนิดขึ้นในขณะที่ยังมีการต่อสู้กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่คนในชนเผ่าเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองทั้งหลายจึงจำเป็นที่จะต้องคิดหาวิธีการปกป้องทั้งตนเองและถิ่นฐานที่ตนปกครองอยู่ มาในสมัยราชวงศ์ปัจจุบันของไทยก็เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งที่ย้ายราชธานีจากธนบุรีมายังบางกอกนั้น พระองค์เองก็ทรงต้องสร้างทั้งชาติและสู้รบกับข้าศึกที่มักจะคอยมารบกวนอยู่เนืองๆ นั้น พระองค์จึงทรงดำริที่จะใช้ทั้งวิธีทางกลศาสตร์และไสยศาสตร์ไปในคราวเดียวกัน วิธีทางไสยศาสตร์นั้น เราเห็นได้จากพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และในส่วนของกลศาสตร์นั้นเห็นได้จากการเลือกทำเลที่ตั้งฐานทัพหรือแม้แต่การขุดคูเมืองไปจนถึงการสร้างป้อมปราการป้องกันข้าศึกในขั้นสุดท้ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ก็ทรงตระหนักถึงปราการที่จะป้องกันพระนคร พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ขุดคลองพระนครจากทางทิศตะวันออกของบางลำพูไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนเหนือของวัดสามปลื้ม คูเมืองที่ทรงรับสั่งให้ขุดนั้นเรียกว่าคลองคูรอบกรุง จากนั้นพระองค์ก็โปรดให้สร้างป้อมปราการขึ้นทีเดียว 14 ป้อม เพื่อที่จะใช้เป็นป้อมกันข้าศึกตลอดคูคลองรอบกรุง ป้อมปราการทั้ง 14 นี้อยู่มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายพระนครออกไป ดังนั้นป้อมปราการบางป้อมที่ทรุดโทรมมากแล้วจึงถูกทุบทิ้ง คงเหลือแต่ป้อมพระสุเมรุที่ถนนพระอาทิตย์และป้อมมหากาฬที่ริมคลองแสนแสบเท่านั้น ป้อมมหากาฬในปัจจุบัน ยังคงตั้งตระหง่านอยู่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ต้นคลองแสนแสบข้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ บนป้อมปราการนั้นยังเหลือปืนใหญ่โบราณให้เราเห็นเป็นอนุสรณ์อยู่ 12 กระบอกสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook