พระที่นั่ง ดุสิดาภิรมย์

พระที่นั่ง ดุสิดาภิรมย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พระบรมมหาราชวังนั้น ถือได้ว่าเป็นประหนึ่งพระราชวังโบราณจำลอง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเพียรพยายามที่จะคงรูปแบบของพระราชวังโบราณมาไว้ยังพระราชวังใหม่ เมื่อพระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ดังนั้นหลังจากที่มีพระราชดำริให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว พระบรมมหาราชวังจึงได้มีผังที่สร้างเลียนแบบพระราชวังโบราณอย่างคร่าวๆ โดยแบ่งเขตพระราชฐานออกเป็นส่วนหน้า ส่วนกลาง และ ส่วนหลังตามลำดับสำหรับพระบรมมหาราชวังแห่งกรุงสยามนี้ เขตพระราชฐานส่วนกลางเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนกลางที่เรียกว่า หมู่พระมหามณเฑียร หมู่พระมหามณเฑียรนั้นเป็นหมู่พระที่นั่งที่พระเจ้าอยู่หัวใช้เสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน รวมทั้งใช้ เป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญๆ มากมาย อาทิพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเป็นต้น หมู่พระมหามณเฑียรนรี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันอของเขตพระราชฐานชั้นกลาง และประกอบไปด้วยพระที่นั่งน้อยใหญ่มากมาย มีพระที่นั่งหนึ่งในหมู่พระมหามณเฑียรนี้ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทน้อยมากที่สุดในบรรดาหมู่พระที่นั่งทั้งหลาย นั่นคือ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ นี้แม้ว่าจะดูไม่มีบทบาททางพระราชพิธีเท่ากับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรย์ หรือแม้แต่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ แต่ก็เป็นพระที่นั่งที่มิอาจจะละเลยได้ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นพร้อมๆ กับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอันเป็นพระที่นั่งสำคัญของพระองค์เลยทีเดียว และเมื่อมีการสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ดังนั้นจึงเป็นไปมิได้ที่จะถูกรื้อทิ้งในกาลต่อมาดังนั้นเมื่อถึงคราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงปรับจากพลับพลาโถงเสาไม้ธรรมดามาเป็นเสาเฉลียง เสริมความแข็งแรงให้ผนังด้วยการก่ออิฐถือปูนและตกแต่งผนังปูนใหม่นี้ด้วยภาพเขียนสีที่งดงามยิ่งนัก และในบางครั้งพระที่นั่งนี้ก็เป็นที่สำหรับผลัดฉลองพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ด้วย ครั้นพอมาถึงรัชกาลถัดมา รัชกาลที่ 4 จึงได้ปรับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ ให้ตั้งสลับที่ด้านกำแพงแก้วกัน โดยให้ตำแหน่งของพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์เกยพระราชยานหันไปทางทิศเหนือแทน ปัจจุบันนี้แม้ว่าพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ จะไม่เปิดให้คนเดินเข้าไปชม แต่เราสามารถจะชมภาพเขียนอันวิจิตรที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่บนผนังทั้งด้านในและด้านนอกได้สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook