หอ กลอง

หอ กลอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325)

บนถนนมหาไชยนั้น นอกจากจะมีหอนาฬิกา อันเป็นอาคารทรงฝรั่งที่ตั้งเด่นเป็นสง่าแล้ว อาคารทรงสูงอีกแห่งหนึ่ง บนถนนสายเดียวกัน ตั้งอยู่เยื้องฝั่งตรงข้าม วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เช่นเดียวกันนี้ เป็นอาคารที่เรียกว่า หอ เหมือนกัน หากแต่หอนี้ คือ หอ กลอง ซึ่งมีหน้าที่บอกเวลาแต่ประชาราษฎร์เหมือนกันหอ กลอง บนถนนมหาไชยนี้ สร้างมาก่อน หอ นาฬิกาอยู่หลายเพลาเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ หอ กลอง นี้เป็น สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองกรุงเทพฯ เลยทีเดียว เนื่องจากรัชกาลที่ 1 นั้นทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้สร้างหอกลองขึ้นใกล้ๆ กับพระบรมมหาราชวังเพื่อใช้กลองนี้แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายต่างๆ อันเป็นภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นภายในพระนคร หอ กลอง นี้มีส่วนของโครงไม้ทาด้วยสมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นบนเป็นยอดมณฑป และ ชั้นที่ว่างทั้ง 3 ชั้นนั้นมีไว้ตั้งกลองชั้นละใบ โดยกลองในแต่ละใบนั้นทำหน้าที่ต่างกัน กลองชั้นแรกเป็นกลองที่มีชื่อเฉพาะว่า ย่ำพระสุรสีห์ เป็นกลองที่ทำหน้าที่บอกเวลายามค่ำและยามเช้า กลองชั้นที่ 2 ชื่อ อัคคีพินาศ ทำหน้าที่แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และกลองใบสุดท้าย ซึ่งอยู่ชั้นบนสุดนั้นมีชื่อว่า พินาศไพรี กลองนี้ใช้บอกเหตุยามมีข้าศึกบุกเข้ามายังพระนคร หอ กลองนี้ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงโปรดฯ ให้ปรับยอดหอชั้นที่ 2 ให้เป็นรูปยอดเกี้ยวตามแบบศิลปะจีน แต่ต่อมาไม่นานหลังจากนั้นหอชั้นที่ 2 ก็ถูกปรับให้กลับมาอยู่ในรูปแบบเดิมตามแบบดั้งเดิมที่รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างต่อมาในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงรับสั่งให้รื้อ หอ กลอง นี้ทิ้งเสีย เพื่อจะได้นำเนื้อที่ตรงส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ ในการสร้างพระราชอุทยานสวนเจ้าเชตุ อย่างไรก็ตาม หอ กลองนี้ก็ถูกนำมาสร้างขึ้นอีกครั้งใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีครั้งที่กรุงเทพมีการเฉลิมฉลองครบ 200 ปีในปี พ.ศ.2525 โดยมีการจัดให้สร้างหอกลองนี้ขึ้นในตำแหน่งเดิม

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook