สะพาน ช้างโรงสี

สะพาน ช้างโรงสี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5

ในยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครของเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสร้างเมืองอารยธรรม ให้ใกล้เคียงกับชาติตะวันตก ที่ในขณะนั้นได้ส่งผลกระทบต่อ ดินแดนแถบอุษาคเนย์ กันถ้วนทั่ว ดังนั้นในยุคสมัยดังกล่าวจึงได้มีอาคารต่างๆ ที่ไม่เคยมีใน แผ่นดินสยามเกิดขึ้นมากมาย แผนการจัดระบบเมืองส่วนหนึ่ง อันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การคมนาคมของกรุงเทพ แปรเปลี่ยนไป นั่นคือการขุดคูคลองรอบกรุง ซึ่งในยุคนั้นกรุงเทพฯ เรามีคลองน้อยใหญ่มากมายจนต่างชาติให้ฉายาว่าเป็นเวนิสตะวันออก และ เมื่อมีคูคลองเกิดขึ้น ก็ยอมต้องมีการสร้างสะพานขึ้นตามเพื่อให้สะดวกแก่ประชาชนในการสัญจรตามไปด้วยที่เกาะรัตนโกสินทร์ ตรงบริเวณหน้า กระทรวงมหาดไทยในปัจจุบันนั้น มีสะพานที่สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 5 อยู่หลายสะพาน เพื่อใช้คร่อมคูน้ำก็มีอยู่ไม่น้อย และ ที่คลองคูเมืองเดิมที่ขุดมาตั้งแต่สมัย ต้นรัตนโกสินทร์นั้น พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ้น เพื่อให้ประชาราษฎร์ได้ใช้สัญจรไปมาได้ง่ายดายขึ้นด้วย โดยเฉพาะสะพานตรง กระทรวงมหาดไทยนั้น ก็มีการสร้างสะพานคร่อมคูเมืองเดิม ด้วยไม้ซุงที่หนา และใหญ่พอจะให้ช้างข้ามได้ ซึ่งการสร้างสะพานในยุคนั้น จะใช้มาตรวัดจากการเดินผ่านของช้างได้ และสะพานพวกนี้ก็มักจะถูกเรียกกันว่าเป็นสะพานช้างแทบทั้งสิ้น แต่สะพานช้างข้ามนี้ ตั้งอยู่ในย่านที่เป็นย่านโรงสีข้าว ชาวบ้านจึงเรียกสะพานนี้ว่า สะพานช้างโรงสีกันจนชิน มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2518 ทางกรุงเทพมหานคร ได้ปรับจากสะพานไม้ซุงเดิมให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อปูน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และ ขยายสะพานให้เป็นไปตามผังเมืองในยุคนั้น โดยคงรูปแบบเดิมของเสา และ โครงสร้างสะพานแบบเดิมไว้ และที่ปลายสะพานก็มีการปั้นรูปหัวสุนัข อันหมายถึงปีจอ ซึ่งเป็นปีที่สร้างไว้ที่หัวราวสะพาน

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook