วังหน้า : พระที่นั่ง ศิวโมกข์พิมาน

วังหน้า : พระที่นั่ง ศิวโมกข์พิมาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 1 พระราชวัง บวรสถานมงคล หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าวังหน้านั้น แม้ว่าปัจจุบัน จะถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็นหลายส่วน เพื่อใช้สร้างสถานเป็นสถานที่ทั้งราชการ และเอกชนนั้น ในอดีตเมื่อครั้งยังมี ว่าที่พระมหากษัตริย์ ทรงประทับอยู่เมื่อช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้น วังหน้าจัดได้ว่าเป็นวังหลวง ที่มีความอลังการ และมีความเป็นมาที่น่าสนใจอยู่มากมายเลยทีเดียว และในบรรดาหมู่พระที่นั่งทั้งหลาย ภายในราชฐานของพระราชวังบวรนั้น พระที่นั่งสำคัญๆ ส่วนใหญ่ ยังถูกเก็บไว้ในสภาพที่ค่อนข้างดีที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า และพระที่นั่งที่เราจะได้เห็นเป็นลำดับแรกนั้นก็คือ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระที่นั่ง ศิวโมกพิมานที่สร้างตั้งติดกับกำแพงวังหน้า (ปัจจุบันเป็นอาณาเขตของ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์) นั้นมีอายุเท่าๆ กับกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว เนื่องจากพระที่นั่งนี้ พระบาทสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงโปรดฯ ให้สร้างพร้อมๆ กับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ.2325 พระที่นั่งศิวโมกข์ฯ นี้ สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรฯ ทรงโปรดฯ ให้สร้างเป็นพระที่นั่งทรงปืนตามแบบที่พระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังโบราณเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระที่นี้เมื่อสร้างเสร็จจึงได้ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกว่าราชการ และใช้เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นหลัก ครั้นกาลล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้าในพระองค์คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ก็โปรดฯ ให้ขยายพระที่นั่ง ศิวโมกพิมานให้ใหญ่ขึ้น โดยให้เปลี่ยนจากพระที่นั่งไม้มาเป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน และเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์ผนังพระที่นั่งใหม่เพื่อที่จะปรับใช้เป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเหมือนกับที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook