พระนารายราชนิเวศน์ (ตอน โรงช้างหลวง)

พระนารายราชนิเวศน์ (ตอน โรงช้างหลวง)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พระนารายราชนิเวศน์ (ตอน โรงช้างหลวง) ที่อยู่ : ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สร้างเมื่อ : สมเด็จพระนารายณ์ วังเจ้านายที่เราเห็นเป็นวังแบบฝรั่งในปัจจุบันนั้น แม้ว่าวังแบบนี้จะได้มี การสร้างมากที่สุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากแต่ การสร้างวังหรือสถานที่สำคัญๆ ตามแบบตะวันตกตามพระราชประสงค์ของพระ มหากษัตริย์ไทยก็มีมานานหลายศตวรรษ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็เช่นกัน ที่มีร่องรอยเดิมของสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตก นอกเหนือจากงานสถาปัตย กรรมแบบขอมหรือจีนที่เคยได้รับความนิยมมาตลอด ที่จังหวัดลพบุรี อดีตเมืองหลวงที่ 2 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นยุคที่ไทยให้การต้อยรับชาติตะวันตกมากที่สุดยุคหนึ่งนั้น พระองค์ทรงเลือก เมืองลพบุรี หรืออดีตเมืองละโว้นี้ไว้เป็นด่านสำรองในการบริหารประเทศ ดังนั้น สิ่งที่ตามมาจากการสร้างเมืองคือพระราชวังประจำเมืองที่มีนามเดียวกับพระองค์ นารายณ์ราชนิเวศน์ พระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์ ก็เริ่มสร้างขึ้น เป็นครั้งแรกในราวปีพ.ศ.2210 โดยโปรดฯ ให้สถาปนิกฝรั่งเศสออกแบบพระราชวัง แห่งใหม่นี้ออกเป็นจุดต่างๆ ในเขตพระราช ฐานบนเนื้อที่ราว 42 ไร่ และสิ่งหนึ่งที่ เป็นที่ท้าทายช่างสถาปนิกฝรั่งเศสเป็นยิ่งนัก นั่นก็คือการสร้างโรงช้างหลวง ซึ่งเป็น สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในทุกยุคสมัยโรงช้างหลวงที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์นั้น สร้างอยู่ในเขตพระราชฐาน ชั้นนอก โดยสร้างตั้งเรียงแถวชิดกำแพงเป็นแนวยาวมากกว่า 10 โรง (ปัจจุบันเหลือ เพียง 10 โรง และมีเพียง 2 โรงที่มีโครง 4 ด้านครบ) ซึ่งโรงช้างนี้ เป็นโรงช้างที่สร้าง ไว้สำหรับใช้เก็บช้างเผือก และช้างศึก ดังนั้นการสร้างที่เลี้ยงช้างจึงสร้างขึ้นแยกเป็น หลังละเชือก โดยสถาปนิกฝรั่งเศสจะออกแบบประตูทางเข้าเป็นช่องใหญ่กว่าตัว ช้างเล็กน้อย โดยมีการเจาะหน้าต่างด้านข้างออกเป็นช่องเล็กๆ ไว้สำหรับระบายอากาศ นอกจากโรงช้างหลวงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดฯ ให้สร้างโรงเก็บ ช้างเผือกและช้างศึกแล้ว พระองค์ยังโปรดฯ ให้สร้างเพนียดเอาไว้สำหรับคล้องช้าง ป่าไว้ไม่ไกลจากทะเลชุบศรมากนัก ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์นี้ เรียกได้ว่าไม่ใคร่มีศึกใหญ่ระหว่าง อโยธากับหงสาวดีนัก นอกจากจะมีเหตุพิพาทกับทางยุโรปมากกว่า อาทิ ฮอลันดา และฝรั่งเศส ดังนั้นช้างศึกจึงไม่ใคร่ถูกนำมาใช้มากนัก และครั้งถึงคราวสิ้นสมเด็จ พระนารายณ์เมื่อ พ.ศ. 2231 พระตำหนักน้อยใหญ่ในพระราชวังแห่งนี้ รวมทั้งโรง เลี้ยงช้างและเพนียดคล้องช้างก็ถูกปล่อยให้ทิ้งล้างตามไปด้วย Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook