วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่อยู่ : เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ สร้างเมื่อ : สมัยกรุงศรีอยุธยา ณ ย่านชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ที่เราเรียกกันว่าย่านเยาว ราชนั้น มีพื้นที่ราว 1.5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นพื้นที่จำนวน มหาศาล หากแต่ก็เป็นย่านชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งภายในเยาว ราชเองก็มีย่านย่อยๆ ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายย่าน อาทิ ย่านโอเดียน ย่านแปลงนาม ย่านทรงวาด และย่านจักรวรรดิ์ เป็นต้น ไม่ว่าย่านเยาวราชจะกลายเป็นย่านชาวจีนที่มีมานานร่วมร้อยปี และมีศาลเจ้าจีนตั้งอยู่มากมาย หากแต่ในอดีต ก่อนที่จะมีชุมชนชาว จีนตั้งมากอย่างที่เห็นในปัจจุบันนั้น แต่ก่อนก็เป็นถิ่นเดิมของชนหลายชาติ อาทิ ชาวไทยพื้นเมือง คนญวน แลคนจีนบ้างประปราย จวบจนกระทั่ง รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้มีการตั้งเขตชุมชนชาวจีนขึ้นที่นี่อย่างเป็นทางการ ย่านนี้จึงเป็นย่านชาวจีนไปโดยปริยายและที่ย่านจักรวรรดิ์ ใกล้ๆ กับท่าน้ำราชวงศ์นั้น มีวัดโบราณที่สร้าง ตั้งเคียงกันอยู่ 2 วัด วัดแรกนั้นชื่อว่า วัดจักรวรรดิราชาวาส ส่วนอีกวัดชื่อ ว่าวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร สำหรับวัดบพิตรพิมุขราชวรวิหารที่ตั้งอยู่เชิงสะพานพระปกเกล้า นั้น วัดนี้มีอายุมากกว่ากรุงเทพมหานครเสียอีก สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดนี้แต่เดิมเรียกว่า "วัดเชิงเลน" หรือ "วัดตีนเลน" มาเนิ่นนาน ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสถาปนากรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นเมืองหลวงนั้น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือกรมพระราชวังหลัง ทรงสถาปนาวัดเชิงเลนขึ้นมาใหม่ตลอดทั้งอาราม จากนั้นในปีพ.ศ.2328 ซึ่ง เป็นปีที่สถาปนานครหลวงใหม่ รัชกาลที่ 1 ก็ทรงโปรดฯ พระราชทานนามวัด ของกรมพระราฃวังหลัง เป็น "วัดบพิตรพิมุขราชวรวิหาร" ซึ่งวัดนี้ได้ทำการ พระราชทานถวายเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็เสด็จ โดยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มาทอดพระกฐินทางชลมารคยังวัดนี้ อีกทั้งยังโปรดฯ ให้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จด้วย ซึ่งปัจจุบันพลับพลาที่ประทับนี้ได้ปรับ เป็นหอสมุดและเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตุ และส่วนหนึ่งของวัดถูกแบ่ง พื้นที่เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาสายอาชีพด้วย Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook