พระนารายราชนิเวศน์ ตอน พระที่นั่งพิมานมงกุฏ

พระนารายราชนิเวศน์ ตอน พระที่นั่งพิมานมงกุฏ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่อยู่ : ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สร้างเมื่อ : พ.ศ.2209 พระนารายณ์ราชนิเวศน์นั้น จัดได้ว่าเป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงตั้งพระทัยที่จะใช้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 หลังจากที่ทรงพบว่ากรุงศรีอยุธยา อยู่ใกล้ทะเลเกินไป ทำให้ยากที่จะตั้งรับข้าศึกชาติตะวันตกได้ ดังนั้นพื้นที่ใกล้ๆ กับทะเลชุบศรที่ลพบุรีจึงถูกเลือกให้เป็นราชธานีสำรอง ดังนั้นวังแห่งใหม่ที่เมือง ละโว้นี้จึงสร้างให้ใกล้เคียงกับพระบรมมหาราชวังให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และในบรรดาหมู่พระที่นั่งต่างๆ ในเขตพระราชฐานชั้นกลางที่สร้างประตูไว้ถึง 11 บานเหมือนๆ กันกับเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นในนั้น ถือว่าเป็นเขต พระราชฐานสำคัญที่พระมหากษัตริย์จะใช้เป็นท้องพระโรงออกว่าราชการ และหนึ่งในหมู่พระที่นั่งสำคัญในเขตนี้ก็ได้แก่ "หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ" หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏนั้น ตั้งอยู่ระหว่างพระที่นั่งจันทรพิศาล และพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท หมู่พระที่นั่งนี้ประกอบไปด้วย พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ใช้เป็นพระที่นั่งสำหรับทรงพระอักษร โดยมีที่นั่ง ไชยศาสตราคม เป็นที่เก็บอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และมีพระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาหมู่พระที่นั่งทั้ง 3 นี้ โดยใช้เป็นท้องพระโรง สำหรับว่าราชการแผ่นดิน ซึ่งพระที่นั่งสุทธิวินิจฉัยนี้ก็ยังแบ่งออกเป็นเป็นท้อง พระโรงใหญ่และท้องพระโรงเล็ก ความพิเศษของหมู่พระที่นั่งนี้คือพระที่นั่ง ทุกหลังในหมู่พระที่นั่งนี้สร้างเชื่อมให้เดินถึงกันได้หมดเดินลึกเข้าไปยังชั้นบนของหมู่พระที่นั่งก็จะเป็นตึกที่สูงขึ้นไปอีก 3 ชั้น เป็นพระที่นั่งส่วนพระมหากษัตริย์ที่ตั้งชื่อตามหมู่พระที่นั่งว่า "พระที่นั่งพิมานมงกุฏ" ซึ่งเป็นพระที่นั่งประธานของหมู่พระที่นั่ง โดยสันนิษฐานว่าพระที่นั่งนี้น่าจะ แบ่งออกเป็นห้องบรรทมและห้องเสวยของสมเด็จพระนารายณ์ด้วย ครั้นพระราชวังที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จนกระทั่งล่วงเข้าสู่กรุงรัตน โกสินทร์ ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิมาน มงกุฏนี้จึงถูกปรับแต่งเสียใหม่จากหลังคากระเบื้องลอนแบบจีนให้เป็นกระเบื้อง มุงหลังคาแบบธรรมดา ไม่มีงานสถาปัตย์เป็นลวดลายที่ซับซ้อนตามแบบของเดิม ที่สร้างแบบเก๋งจีน หากแต่ตัวอาคารดูเป็นทรงฝรั่งแบบเรียบๆ กระนั้นก็ยังคงลวด ลายปูนปั้นที่หน้าบันของพระที่นั่งเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฏบนพาน โดยมีปูนปั้น ทำเป็นฉัตรคู่ขนาบข้างพระรูปพระพิชัยมหามงกุฎ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook