วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตอนแรก

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตอนแรก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่อยู่ : แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 3 ด้วยเหตุที่ชาวจีนได้เข้ามายังดินแดน ขวานทองมาพึ่งพระบรมโพธิ สมภารมานานหลายร้อยปี จึงไม่แปลกอะไรที่ชาวจีนซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธเหล่านี้จะนำเอาวัฒนธรรมของ ตนติดตัวมายังประเทศไทยด้วย ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีศาลเจ้า โรงเจมากมาย รวมทั้งวัดไทยที่สร้างจากแรงศรัทธา ของชาวจีน และในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้า แผ่นดินที่ทรงโปรดการสร้างวัด และให้ความสนพระทัยในวัฒนธรรมจีนนั้น ก็เกิดวัดสำคัญๆ ที่สร้างขึ้นในยุคนี้มากมาย และวัดไทยที่สร้างจากแรงศรัทธา ของชาวจีนที่สำคัญๆ อาทิ วัดกัลยาณมิตรฯ ก็เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ด้วย ที่ฝั่งธนบุรีบริเวณปากคลอง บางกอกใหญ่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ๆ กับโบสถ์ฝรั่งซางตาครู้ส นั้น เคยเป็น หมู่บ้านชื่อกุฏีจีน เนื่องจากเป็นย่านที่มีชาวจีน และพระภิกษุจีนพำนักอยู่ ต่อมาคหบดีเชื้อสายจีนคือพระยาราชสุภาวดี (โต กัลยาณมิตร ต้นตระ กูลกัลยาณมิตร ซึ่งต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา นิกรบดินทร์ ) สมุหนายกคนสนิทในรัชกาล ที่ 3 ซึ่งมีบ้านอยู่ ณ บริเวณนั้น ได้ บริจาคบ้านและที่ดิน รวมทั้งซื้อที่ดินใน บริเวณข้างเคียงเพิ่มเติม เพื่อสร้างเป็น วัดไทยขึ้นในปีพ.ศ. 2368 เมื่อสร้างจนแล้วเสร็จ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ก็ทูล เกล้าถวายวัดนี้แก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับ ไว้เป็นพระอารามหลวงชั้นโท พร้อมทั้งทรงพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณ มิตรวรมหาวิหาร" ชื่อของวัดกัลยาณมิตรนี้ มีที่มาอันสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับเจ้าพระยานิกรบดินทร์เป็นอันมาก เนื่องจากเจ้าจอมมารดาอึ่ง ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร์นั้น ทรงเป็นเจ้า จอมในรัชกาลที่ 3 นอกจากนั้นแล้ว พระราชธิดาของพระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา (พระองค์เจ้าบุตรี) ก็โปรดที่จะร่วมสร้างพระวิหารหลวงภาย ในวัดที่ธนบุรีนี้ด้วย วัดนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นวัดแห่ง "กัลยาณมิตร" นั่นเอง อารามหลวงแห่งนี้ นอกจากจะมีชื่อเป็นสิริมงคลแล้ว ก็ยังมีชื่อเสียงทาง ด้านโบราณวัตถุอันสำคัญๆ มากมายที่ดึงดูดพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวให้มา สักการะ และเยี่ยมชม ซึ่งจะกล่าวเพิ่มเติมในตอนต่อไปด้วย วัดนี้สามารถเข้ามา สักการะได้ทั้งทางบก ด้วยการนั่งรถจากถนนเทศบาลสาย 1 หรือนั่งเรือข้ามฟาก จากท่าราชินีมายังท่ากุฏีจีนก็ได้ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook