วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตอนสอง

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตอนสอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ณ ฝั่งธนบุรี ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านกุฎีจีนนั้น แต่เดิมเป็นถิ่นฐาน ของชาวคาธอลิค และชาวจีนที่มาตั้ง รกรากตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เมื่อลาวงเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จากชุมชนเดิมที่มีวัดไทยตั้งอยู่ ประปรายก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสม เด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคหบดีเชื้อ สายจีนที่อาศัยอยู่ในแถบกุฎีจีนนั้น ได้รวบรวมเงินซื้อที่ดินมาสร้างเป็นวัดไทย หลังใหม่ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งเป็นวัดหลวงขึ้น แล้วพระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" ด้วยเหตุที่พื้นที่เดิมและพื้นที่ข้าง เคียงของ วัดกัลยาณมิตรยังเป็น ชุมชนชาวจีนที่หนาแน่น ดังนั้น คติความเชื่อ ความศรัทธาของชาวจีนที่นำ มาจากแผ่นดินแม่ยังคงดำรงอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งในหลวงรัชกาลที่ 3 ผู้ทรง สืบเชื้อสายชาวจีนมาด้วย ก็ยิ่งทำให้เป็นที่รักยิ่งของชาวจีนในไทยรวมทั้งใน แถบกุฎีจีนตามไปด้วย ในระหว่างที่วัดกัลยาณมิตรกำลังก่อสร้างนั้น พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะเห็นวัดสร้างใหม่นี้ให้คล้าย ดั่งวัดพนัญเชิง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เช่นเดียวกัน เมื่อดำริเช่นนี้แล้ว พระองค์จึงทรงร่วมกับเจ้าพระยานิกรบดินทร์ สร้างพระราชทานพระวิหารหลวงไว้ใช้ทำสังฆกรรม อีกทั้งยังทรงโปรดฯ ให้ สร้างพระประธานในวิหารหลวง เป็นพระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่ชาวไทย เรียกันสั้นๆ ว่า "หลวงพ่อโต" ส่วนชาวจีนเรียกว่า "ซำปอกง" หรือ "ซำปอฮุดกง" ซึ่งซอปอกงนี้ เป็นองค์เดียวกันกับซำปอกงที่วัดพนัญเชิง ที่ชาวจีนเชื่อว่าตน เป็นลูกหลานสืบทอดมาจากหลวงพ่อโตนั่นเอง นอกจากนั้นแล้ว ชาวจีนยัง เชื่อว่าถ้าไปบนบานขอให้เป็นคนใหญ่นายโต มีชื่อเสียง ก็มาขอพรจากหลวง พ่อ จะสัมฤทธิ์ผลได้ นอกจากพระพุทธไตรรัตนนายกแล้ว ข้างวิหารหลวงยังมีหอระฆัง ที่ใช้เก็บระฆังใบยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วย ระฆังนี้สร้างขึ้น ก่อนที่สยามประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพียงปีเดียว โดยมี พุทธบริษัททั้ง 8 ร่วมทุนกันจ้างนายฟูยีวาร่า ช่างชาวญี่ปุ่นให้เป็นผู้หล่อ ระฆังใบนี้นี้ขึ้น เพื่อถวายแด่พระพุทธไตรรัตนนายก และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 6 ปัจจุบัน ระฆังใบนี้ยังคง เก็บอยู่ที่หอระฆังข้างพระวิหาร และยังคงใช้งานอยู่ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook