พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (ตอนที่ 1)

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (ตอนที่ 1)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พระราชวังของไทยในยุครัตน โกสินทร์ตอนกลางนั้น ถือได้ว่ามีจำนวนการ สร้างวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง แก่ราชบุตรและราชธิดา โดยโปรดฯ ให้สร้างวังขึ้นที่กรุงเทพเสียเป็นส่วนใหญ่ จะมีที่ต่างจังหวัดบ้างก็ประปราย และที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของ ประเทศไทย ที่นี่มีความพิเศษอยู่ที่วังหลวงที่เป็นที่ ประทับส่วนพระองค์ของในหลวง ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-6 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย ์ไทยในยุคกลางกรุง รัตนโกสินทร์ทั้งหมด และพระราชวังทั้ง 3 องค์นั้นต่างก็มีความ พิเศษคล้ายกันตรง ที่มีส่วนของงาน สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสานกับ งานศิลปะของไทยด้วยที่ริมหาดห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำนี้ มีพระราชวังหลังใหญ่ที่สร้างมา แต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังนี้สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประทับตากอากาศในฤดูร้อนโดยเฉพาะ ดังนั้นวังริมหาดหลังนี้จึง สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง คล้ายกับพระที่นั่งวิมานเมฆที่ปลูกด้วยไม้สักทอง แล้วยกเรือนให้ดูสูงโปร่ง เพื่อใช้รับลมทะเลที่พัดผ่านเข้ามาได้โดยสะดวก พระราชวังเรือนไม้สักหลังโปร่งนี้ ได้โครงไม้มาจากพระตำหนักหาด เจ้าสำราญมาปลูกใหม่ริมหาดชะอำ มีสถาปนิกชาวอิตาเลี่ยน แอร์โกเล มันเฟรดี ที่ได้แรงบันดาลใจจาก "เรือนผูก" ของชาวไทยภาคกลางที่นิยม สร้างบ้านด้วยไม้เป็นหลักมาออกแบบพระราชวัง โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงนครบาลในสมัยนั้นมาเป็น ผู้ควบคุมงานก่อสร้างจนแล้วเสร็จทั้งหมดในปี พ.ศ.2466 หลังจากสร้าง จนแล้วเสร็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระราชทานนามวังริมทะเลนี้ว่า พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เนื่องจากที่ดินผืนนี้เคยเป็นสวนสงบที่มีสัตว์ป่า นานาชนิดมากมายอาศัยอยู่ พระองค์จึงทรงพระราชทานนามให้เข้ากับป่าอิสิป ปนมฤคทายวันตามสมัยพุทธกาล แต่วังนี้ก็เปิดใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 6 ได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ปัจจุบัน พระราชวังเรือนสักทองนี้อยู่ในความดูแลของกองบัญชาการ ตำรวจตระเวนชายแดน และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตามเวลาราชการ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook