ตึกแถวเก่าถนนบำรุงเมือง

ตึกแถวเก่าถนนบำรุงเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กรุงเทพมหานครนั้น เริ่มตระหนักถึงการจราจร และการขนส่งทางบก ขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ในช่วงกลางยุครัตนโกสินทร์ หรือเมื่อราว 100 กว่าปีที่ผ่านมานี่เอง และถนน สายแรกๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นนั้น เกิดจากภายใต้ พระราชดำริในการขยายเมืองเพื่อสอด รับกับวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหล กันเข้ามายังกรุงสยามกันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว บนเกาะรัตนโกสินทร์ ที่เขตพระนครอันเป็นเขตปกครองที่เก่าแก่ ที่สุดเขตหนึ่งที่ขึ้นกับสำนักพระราชวังโดยตรงนั้น เรามีถนนสายสำคัญๆ ดั้งเดิม 3 สายแรกที่เริ่มต้นสร้างขึ้นในระยะเวลาที่ไล่ๆ กัน ได้แก่ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนครนั้นยังปรากฏให้เห็นร่องรอยความเจริญที่ มีมาแต่แรกสร้างอยู่บ้างเมื่อกล่าวถึงถนนสายเก่าแก่อย่างถนนบำรุงเมืองในข้างต้นนั้น ถนนคอนกรีตที่เราเห็นในปัจจุบันนี้เคยเป็นทางเดินเท้ามาแต่ต้นยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมนั้น ชาวบ้านเรียกกันตามถิ่นที่ตั้งว่า "ถนนเสาชิงช้า" ซึ่งทำเป็นทาง เดินเท้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2406 ซึ่งทางเดินเท้านี้ นอกจากจะเป็นที่สัญจรของ ชาวบ้านแล้ว ยังเป็นทางที่พระมหากษัตริย์ใช้เสด็จมาถวายราชสักการะศาสน สถาน ณ บริเวณทางสัญจรนี้ด้วย และจากเหตุผลที่ทางเดินเท้านี้นำไปสู่ศาสน สถานที่พระมหากษัตริย์ ตลอดจนเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารสัญจรผ่าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงพระราชทานนามเส้นทาง สายนี้ว่า "ถนนบำรุงเมือง" อันหมายถึงความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง ครั้นกาลล่วงเข้ารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคที่มีการขยายความเจริญทางสาธารณูปโภคไปจนถึงขีดสุด ซึ่งใน ยุคนี้เองที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการสร้างถนนหนทางทั่วเขตพระนคร รวมทั้งถนนบำรุงเมืองก็ทรงโปรดให้ปรับปรุงถนรนโดยให้สร้างเป็นถนนคอนกรีต และขยายถนนออกไปอีก 9 เมตร และโปรดให้สร้างตึกแถวตามแบบที่เคย ทอดพระเนตรจากสิงคโปร์ทั่วทั้ง 2 ข้างทางถนน แล้วแบ่งขายแก่เอกชน และ เอกชนที่เข้ามาจับจองทำการค้ายังอาคารพาณิชย์ที่แบ่งขายนี้ ก็จะมีการจับจอง กันเป็นกลุ่มๆ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าตรงประตูสำราญราษฎร์ (ประตูผี) จะเป็นย่าน โรงพิมพ์เก่าแก่ ตั้งสลับกับร้านค้าพระพุทธรูปและวัตถุมงคล ส่วนตึกแถวที่ตั้ง ติดกับโบสถ์พราหมณ์ ฝั่งตรงข้ามวัดสุทัศน์กลับเป็นย่านค้าตราโรงเรียนและ ประกาศนียบัตรตลอดจนชุดลูกเสือต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook