พระบรมมหาราชวัง ตอน พระที่นั่งราชกรัณยสภา

พระบรมมหาราชวัง ตอน พระที่นั่งราชกรัณยสภา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี และทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระบรม มหาราชวังขึ้นฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดอรุณราชวรารามนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระบรมมหาราชวังแห่งนี้เป็นดั่ง พระราชวังโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น ผังภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อแรกสร้างจึงวางตำแหน่งพระที่นั่งต่างๆ รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้เหมือนกับพระราชวังโบราณ ครั้งกาลล่วงสู่แผ่นดินของพระมหากษัตริย์องค์ถัดๆ มา ผังของ วังจึงเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลา อีกทั้งเขตพระราชฐานในพระบรมมหาราชวัง เองก็มีจำกัด ทำให้การสร้างพระที่นั่งใหม่ๆ ยากแก่การสร้างเพิ่มแล้วออกมาตาม พระราชประสงค์เดิมของพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา ล่วงเข้าสู่ยุคกลางรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว การสร้างพระที่นั่งหลังใหม่ๆ ก็ประสบปัญหาจนต้องแก้ปัญหาด้วย การสร้างขนาบหรือสร้างบนพระที่นั่งหลังใหญ่ที่มีมาแต่เดิม อาทิ พระที่นั่งราช กรัณยสภา เป็นต้นพระที่นั่งราชกรัณยสภา เป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งที่สร้างขึ้นภายใต้ข้อ จำกัดดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นบนกำแพงแก้วด้านทิศ ตะวันออกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดฯ ให้พระที่นั่งที่สร้างสูงขึ้นอีก 2 ชั้นองค์นี้เป็นประชุมข้อราชการแผ่นดิน ครั้นรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาส ยุโรปกว่าทศวรรษในครานั้น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งได้รับ พระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก็ทรง ใช้พระที่นั่งแห่งนี้ออกว่าราชการเช่นกัน ความสำคัญของพระที่นั่งราชกรัณยสภา หาได้หยุดอยู่ที่รัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ เพราะเมื่อเข้าสู่แผ่นดินของพระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เมื่อยามที่พระองค์เสด็จออก ผนวชในปีพ.ศ.2499 ก็ทรงโปรดฯ เกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติย์ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ทรงใช้พระที่นั่งราช กรัณยสภาเป็นที่ประชุมคณะองคมนตรีเช่นเดียวกัน สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook