เทศกาลเจ อาหารปลอดภัย ใจสะอาด กับ แนวคิด 9 วันศักดิ์สิทธิ์

เทศกาลเจ อาหารปลอดภัย ใจสะอาด กับ แนวคิด 9 วันศักดิ์สิทธิ์

เทศกาลเจ อาหารปลอดภัย ใจสะอาด กับ แนวคิด 9 วันศักดิ์สิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กลุ่มประชาคมเขตสัมพันธวงศ์ ร่วมกับ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ จัดงาน เทศกาลเจ อาหารปลอดภัย ใจสะอาด ระหว่างวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2546 วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2546 ณ ย่านไชน่าทาวน์ เยาวราช ระหว่างเวลา 18.00 24.00 น. เป็นระยะเวลา 9 วัน ได้รับการสนับสนุนจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเพทมหานคร การจัดงานเทศกาลเจ อาหารปลอดภัย ใจสะอาด นับเป็นการจัดงานอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อส่งเสริมเทศกาลกินเจ ซึ่งเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวจีนในการสร้างกุศล ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และประพฤติตนอยู่ในศีลในธรมตลอด 9-10 วัน ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวผลบุญจะส่งให้ตนและครอบครัว ประสบแต่ความสุข ความเจริญ และช่วยให้อายุยืนยาว การจัดงานครั้งนี้ได้รวบรวมร้านอาหารเพื่อจำหน่ายอาหารเจตลอดริมถนนเยาวราช ซึ่งแต่ละร้านจะถูกคุมเข้มเรื่องความสะอาด โดยทีมงาน Clean Food Good Taste รับผิดชอบโดยกรมอนามัย และนี่คือตัวอย่างหน้าตาอาหารที่ทุกท่านจะได้เลือกรับประทานกัน

ผัดฮกลกซิ่ว เขาลูกช้าง

พิซซ่าหยก

ไข่มุกมังกรน้ำขิง

ซาลาเปาเล่งบ้วยเฮี้ย

เกี๊ยวซ่าเจ

หอยจ้อเจ

หยกขาวสายรุ้ง

กระเพาะปลาเจ

ข้าวทิพย์รวมใจเจ

ขลุ่ยปูเจ

มังกรขาวเครื่องเจ

อรหันต์ลงทะเลราดหน้าเส้นหมี่ข้าวกล้อง

แนวคิด 9 วันศักดิ์สิทธิ์ 25 กันยายน 2546 พิธีแห่ศาลเจ้ายิ่งใหญ่ พิธีแห่เจ้านี้ จัดขึ้นโดยวัดจีน ในเขตสัมพันธวงศ์ และศาลเจ้าเก่าแก่ ร่วมกันจัดขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ อันประกอบไปด้วย ขบวนมังกร และสิงโต รถบุพผาชาติเจ้าแม่กวนอิม ผู้ร่วมขบวนกว่า 1,000 ชีวิต เริ่มเดินขบวนตั้งแต่ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ เดินไปตามถนนเยาวราช ถึงแยกวัดตึก แล้งจึงวนขวากลับมายังซุ้มประตูอีกครั้ง ขั้นตอนนี้จัดทำขึ้นเพื่ออันเชิญองค์เทพเจ้าต่างๆ มาสถิตที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้จัดตั้งปรัมพิธี และโต๊ะหมู่บูชาไว้พร้อมแล้ว โดยองค์เทพพระเจ้าจะสถิตอยู่ ณ ที่นั้น ตลอด 9 วันแห่งเทศกาลกินเจ และเปิดโอกาสให้คนได้สักการะ 26 กันยายน 2546 วันที่ 1 ตำนานศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 1 นี้ถือเป็นวันแรกของการกินเจ เริ่มประเดิมความศักดิ์สิทธิ์ด้วยการบอกเล่าตำนานการกินเจว่าได้เริ่มมาอย่างไร และมีเทพเจ้าอะไรเป็นประธานในเทศกาลนี้ คำพูดทั้งหมดจะถูกถ่ายทอดโดยเจ้าอาวาส วัดกุศลสมาคร ซึ่งเป็นทีรู้จักกันดี และท่านเจ้าอาวาสจะได้พรมน้ำมนต์เพื่อเพิ่มศิริมงคลให้กับผู้ที่มารับฟังด้วย สถานที่จัดกิจกรรมนี้ จะอยู่ที่ปรัมพิธีที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ มีแสง สี ตระการตา ประกอบเพิม่ความศักดิ์สิทธิ์ และกระจายเสียงไปทั่วทั้งงาน 27 กันยายน 2546 วันที่ 2 พระมหาโพธิสัตว์ศักด์สิทธิ์ การได้นมัสการเจ้าแม่กวนอิม ถือเป็นศิริมงคลอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดอกบัวที่รองบาทของเจ้าแม่กวนอิม ถือเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลกินเจทีเดียว วันที่สองของการทานเจนี้ ปรากฏรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ขนาดความสูงเท่าคนจริง ประดิษฐานอยู่เหนือซุ้มดอกบัว ให้คนทั่วไปได้สักการะ ประกอบการจัดสถานที่ให้ดูอลังการ มีการเล่าเรื่องตำนานเจ้าแม่กวนอิม โดยผู้รู้ และร่วมสวดมนต์ด้วยบทสวดถวายเจ้าแม่กวนอิม ที่ปรัมพิธี 28 กันยายน 2546 วันที่ 3 (วันชิวลัค) พิธีแห่ดาวนพเคราะห์ 9 พระองค์ (พิธีเปิดอย่างเป็นทางการยิ่งใหญ่ โดย ฯพณฯ ท่าน ทักษิณ ชตร นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 นี้ ถือเป็นวันมงคลของการกินเจ คือ วันชิวลัค นอกจากพิธีเปิดยิ่งใหญ่ที่มีการถ่ายทอดสดแล้ว ยังมีขบวนแห่ที่ประกอบด้วย มังกร สิงโต ธง รถบุพผาชาติเจ้าแม่กวนอิม และศาลเจ้า ที่จะนำขบวนแห่ไปรอบบริเวณ เพื่อความเป็นศิริมงคล มีผู้ร่วมขบวนแห่ในชุดขาวกว่า 1,000 ชีวิต 29 กันยายน 2546 วันที่ 4 อักษรศักดิ์สิทธิ์ ความศักดิ์สิทธิ์ของตัวอักษรจีนที่เขียนลงบน ฮู้ เป็นที่ประจักษ์ใจของชาวจีนหลายรุ่นมาแล้ว ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ในการปัดรังควาน วันที่ 4 นี้ เราจะนำเรื่องราวของ ฮู้ มาถ่ายทอดที่งาน โดยผู้รู้จากศาลเจ้าเก่แก่ ทั้งวิธีการเขียน ความหมายของอักษรแต่ละตัว อาทิเช่น ฮู้สีแดง, ฮู้สีเขียว, ฮู้สีเหลือง ปิดท้ายด้วยการรับ ฮู้ จากศาลเจ้า เล่ง บ๊วย เอี๊ยะ และ ศาลเจ้าไต้กง ซึ่งผ่านกรรมวิธีทางศาสนามาแล้ว 30 กันยายน 2546 วันที่ 5 พิธีลอยเคราะห์ พิธีหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในเทศกาลเจ คือ พิธีสะเดาะเคราะห์หนือลอยพระเคราะห์ เพื่อลอยความไม่ดีต่างๆ ทิ้งไปในวันที่ 5 นี้ จะมีกระทง 9 ใบ แต่ละใบเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 นิ้ว วางอยู่บนแท่น ผู้ที่ต้องการลอยพระเคราะห์ จะเขียนชื่อของตนเองลงบนกลีบดอกบังเล็กๆ ที่ทางงานเตรียมไว้ให้ แล้วนำกลีบดอกบัวนั้นติดลงบนดอกบัวดอกใหญ่อีกครั้งหนึ่ง กระทงนี้จะตั้งอยู่ในบริเวณงาน ถึงวันที่ 7 (2 ต.ค. 46) แล้วจึงนำไปลอยที่สระวัดปทุมคงคา โดยมีพิธีเดินขบวน และมีพระนำ 1 ตุลาคม 2546 วันที่ 6 (วันชิวอิค) อาหารศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 6 นี้เป็นวันที่สำคัญอีกวันของเทศกาลเจ เพราะเป็น วันชิวอิค วันนี้จะมีการแจกอาหารเจจากศาลเจ้า และโรงทานทุกแห่งที่มาร่วมในซุ้มวัฒนธรรมวงเวียนโอเดียน ฝ่ายวัด ได้แก่ วัดกุศลสมาคร วัดโลกา วัดมงคล วัดชัยภูมิ และวัดบำเพ็ญจีนพรต ฝ่ายศาลเจ้า คือ ศาลเล่ง บ๊วย เอี๊ยะ ศาลใต้เทียนกง โรงเจุบุญทานสมาคม มีช่วงเวลาการแจก 99 นาที อาหารทุกอย่างนั้นผ่านการประกอบอย่างถูกต้องตามหลัก และมีการสวดมนต์ก่อนเวลาทาน เพื่อชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ 2 ตุลาคม 2546 วันที่ 7 ถุงขวัญข้าวมงคล วันที่ 7 นี้ ตรงกับวันทำบุญใหม่ เริ่มจากการนำกระทงที่เตรียมไว้ วันที่ 5 ไปลอย การปล่อยนกปล่อยปลา และงานเทกระจาดแจกของ ซึ่งทางวัด และศาลเจ้าที่มาร่วมงานที่บริเวณ ซุ้มวัฒนธรรมก็มีพิธีเทกระจาดเช่นกัน (แต่เป็นพิธีที่ทำให้นุ่มนวลยิ่งขึ้น เพื่อลดการแย่งของจนถึงขั้นเหยียบกัน) คือ แจกถุงขวัญข้าวมงคล จำนวน 9999 ถุง เพื่อให้ผู้รับนำไปผสมรวมกับข้าวที่ถังข้าวที่บ้าน เพื่อเพิ่มความเป็นศิริมงคล 3 ตุลาคม 2546 วันที่ 8 ตำนานเทพเจ้า 9 พระองค์ และรับพลังความศักดิ์สิทธิ์ที่ซุ้มประตู แท่นบูชา เพทเจ้า 9 พระองค์ หรือ เก๋า อ๋วง เจ เทพเจ้าแห่งการกินเจ ซึ่งประกอบไปด้วยเทพเจ้าประจำวันทั้ง 7 วัน พระเคราะห์และพระเกตุ ผู้ดูแลชะตาชีวิตมนุษย์ ได้ประดิษฐานอยู่ที่ปรัมพิธีที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติได้ 8 วันแล้ว วันนี้ก็จะได้มีพิธีสวดอย่างยิ่งใหญ่ เพิ่มอีก 99 นาที จากการสวดประจำวัน เพื่อบูชาเทพเจ้าทั้ง 9 พร้อมทั้งมีผู้รู้มาเล่าขานตำนานของเทพเจ้าทั้ง9 ซึ่งมีตำนานต่างๆ มากมาย ประกอบการจัดแสง และบรรยากาศที่ทำให้การเล่าน่าสนใจขึ้น ปิดท้ายด้วยการเข้ารับพลังจากซุ้มประตูแห่งนี้ มีสัญลักษณ์มงคลอยู่ มีความเชื่อว่า ถ้ายืนใต้จุดใต้ฐานซุ้มประตู จะรับพลังของฟ้าและดินได้อย่างเต็มที่ 4 ตุลาคม 2546 วันที่ 9 (วันชิวยี่) สวดมนต์ 999 จบ วันสุดท้ายแห่งการกินเจ ขอเชิญชวนให้ทุกคนแต่งชุดขาวมาที่เยาวราช เพื่อร่วมสวดมนต์ให้ครบ 999 จบ ร่วมกับพระ 108 รูป จากวัดจีนต่างๆ ที่จะนำมาร่วมสวดในวันนั้น เพื่อสร้างบุญยิ่งใหญ่ และชมการแห่มังกร และศาลเจ้าครั้งสุดท้าย ก่อนส่งเทพเจ้าขึ้นสู่สรวงสวรรค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook