สำรวจเส้นทางมังกร ไหว้เจ้าตามศาลเทศกาลเจ

สำรวจเส้นทางมังกร ไหว้เจ้าตามศาลเทศกาลเจ

สำรวจเส้นทางมังกร ไหว้เจ้าตามศาลเทศกาลเจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำรวจเส้นทางมังกร ไหว้เจ้าตามศาลเทศกาลเจ
โดย ผู้จัดการรายวัน 8 ตุลาคม 2547 09:55 น.
แม่กวนอิมปางประทานพรมูลนิธิเทียนฟ้า
กระถางธูป กลับทิศ ที่ศาลเจ้าฉือปุยเนี่ยเนี้ย
เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว
พระโพธิสัตว์มงคลธัญญ์ ศาสนสถานปฏิบัติธรรม
บ่อมังกรเขียว-เสือขาวเล่าปูนเถ้ากง ตามหลักตี่ลี้ฮวงจุ้ยจีน
ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง
เล่ง บ้วย เซี้ย อ้วงและฮูหยิน ประธานศาลเล่งบ่วยเอี้ย
"เทศกาลเจ เยาวราช อิ่มบุญ อิ่มใจ เทิดไท้ 72 พรรษามหาราชินี" ระหว่างวันที่ 14-22 ตุลาคมที่กำลังจะมาถึง นอกจากจะได้เห็นมหกรรมอาหารเจอันขึ้นชื่อลือชาบนถนนเยาวราช ยังมีภาพบรรดาอากง อาม่าจูงมือลูกหลาน ผู้คนนุ่งห่มด้วยอาภรณ์สีขาว หอบหิ้วธูปเทียน และผลไม้มุ่งสู่ศาลเจ้าเพื่อสวดมนต์ขอพรต่อหน้าองค์เทพเจ้าแต่ละศาลเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ประเพณีการไหว้เจ้าของชาวจีนอยู่บนความเชื่อเรื่องเลขมงคลเช่นกัน นิยมไหว้กัน 8 หรือ 9 ศาล เชื่อว่าเลข 8 อ่านว่าฝาด หมายถึงความ ร่ำรวย บางชุมชนถือเคล็ด 1 วัด 8 ศาล รวมเป็น 9 คือได้ทั้งไทยและจีน เขตสัมพันธวงศ์ เยาวราชมีศาลเจ้าให้เลือกสักการะทั้งหมดถึง 22 ศาลเจ้า แต่ละศาลเจ้าล้วนมีความเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ศาลแรกๆสร้างตั้งแต่ครั้งที่ยังใช้เส้นทางสัญจรทางน้ำ ก่อนที่จะกำเนิดถนนมังกร งานนี้ "ผู้จัดการปริทรรศน์" พร้อมไกด์หนุ่ม "ปรีดา ปรัตถจริยา" กรรมการที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์ นำทัวร์กว่า 10 ศาลเจ้าโหมโรงเรียกน้ำย่อยก่อนวันไหว้จริง ตั้งต้นเติมพลังฟ้าดิน ท่ามกลางยวดยานพาหนะวิ่งกันขวักไขว่ล้อมรอบวงเวียนโอเดียน ซุ้มประตูสีแดงตั้งตะหง่านเด่นเป็นสง่า ได้รับนามพระราชทานเว่า "ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ลักษณะสิ่งก่อสร้างเต็มไปด้วยความเชื่อและสิ่งมงคลถือเป็นจุดเริ่มต้นเติมพลังที่สำคัญ ยอดหลังคาซุ้มประตูฯ ประกอบด้วยมังกรคู่ ชูตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ แท่นศิลาทั้ง 9 แท่นบนตำแหน่งเต่าดำ ก่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ป้ายซุ้มมีนวมงคล 9 อย่างได้รับพระราชทานนามจากในหลวง ยอดซุ้มมีทองคำบริสุทธิ์หนัก 99 บาทหุ้มพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. สะท้อนว่าไม่ลืมแผ่นดินเกิดมาจากจีนโพ้นทะเล บ่งบอกถึงความกตัญญูรู้คุณของสองแผ่นดิน แกนกลางซุ้มประตูฯบนฝ้ามีอักษรจีนทองเหลือง คำว่า เทียน ซึ่งหมายถึงฟ้า ค้างคาว 4 ตัว ภาษาจีนอ่านว่าฟู่แปลว่าโชคลาภ แกนกลางดิ่งลงมาที่มีหมุดทองเหลืองคำว่า ตี้ ซึ่งหมายถึงแผ่นดิน มีดอกบัวสัญลักษณ์ของธรรม มุมทั้งสี่มีต้นไผ่คือมีคุณธรรมมีจุดยืนไม่ว่าลมจะพลิ้วไปทิศทางใด สุดท้ายกลับมาตรง ผู้ที่ยืนหมุดตั้งกึ่งกลาง เปรียบเหมือนแกนกลางของฟ้าดิน ยืนอยู่ภายใต้คุณธรรม ภายใต้ฟ้าประทานพร ไหว้ 4 ทิศ คือต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยืนแล้วนึกถึงคุณงามความดีที่จะกระทำ แล้วพรต่างๆจะสัมฤทธิผลคนนิยมมาไหว้ พร้อมปฏิบัติธรรม สวดมนต์ เวียนเทียน เติมพลังฟ้าดิน ซอกแซกศาลเจ้า ก่อนถึงวันไหว้จริง ต้นถนนเยาวราช ไม่ใกล้ไม่ไกลจากซุ้มเฉลิมพระเกียรติฯเป็นที่ตั้งของ มูลนิธิเทียนฟ้า มูลนิธิแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงมอบทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พร้อมตู้เก็บพระไตรปิฎก บทสวดมนต์ 2 ตู้ ปัจจุบันยังคงตั้งอยู่ 2 ข้างขององค์เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพร องค์ประธานศาลเจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรแกะสลักจากไม้เนื้อหอมลงรักปิดทอง จากรูปทรงสันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง เศียรมีรูปพระโพธิสัตว์ มือชี้หมายถึงการแผ่เมตตา 3 ภพ คือสวรรค์ โลกมนุษย์และใต้พิภพเครื่องทรงสไตล์อินเดีย รูปร่างกำยำล่ำสัน เท้าใหญ่ดูไม่เหมือนผู้หญิง ซึ่งสอดคล้องกับประวัติของท่านที่เล่ากันว่า แท้จริงแล้วท่านเป็นชาย ฐานะพระไม่สามารถช่วยสตรีเพศจึงเนรมิตกายเป็นหญิง ว่ากันว่าส่วนใหญ่ที่มาไหว้ เพื่อขอพรให้ท่านปัดเป่าโรคาไม่ให้มาเบียดเบียน มีพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง สถาปัตยกรรมตัวศาลผสมผสานจีนแต้จิ๋ว แสดงรูปแบบสตรีเพศโดยเฉพาะ คือมีหงส์อันเป็นตัวแทนของสตรีเพศ ดอกโบตั๋นบ่งบอกถึงงานเย็บปักถักร้อย ค้างคาวบอกความเจริญรุ่งเรืองเมื่อสักการะ จากมูลนิธิเทียนฟ้า มุ่งตรงเข้าสู่แยกเฉลิมบุรี ย่านโรงงิ้วเก่า ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงชื่อ เข้าสู่ถนนพาดสาย นามพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 ให้คล้องจองกับชื่อถนนตามแนวขนาน เจริญกรุง-เยาวราช-พาดสาย บนถนนพาดสาย ห่างจากร้านกาแฟโบราณเอี๊ยะแซ เป็นที่ตั้ง ศาลเจ้าฉือปุยเนี่ยเนี้ย เริ่มต้นด้วยการไหว้ทีกงก่อนตรงไปไหว้ประธานศาลตรงกลาง ขวามือ ซ้ายมือ ต่อด้วยทวารบาลหรือหมึ่งซิง ประธานศาลคือเจ้าแม่กวนอิมปุยเนี่ยเนี้ย ปางประทานพรนั่งบนดอกบัว เป็นปางจุติของการนั่งสมาธิ สไตล์การแต่งแบบแต้จิ๋วตัวหลังคามี 3 ตอน คือตอนใน ตอนกลางและตอนหน้า เสามีลักษณะเป็นเม็ดข้าวสาร ปลายรี ปล่องกลาง วางอยู่บนตอม่อเฉยๆ เสาหลักรูปร่างเป็นเม็ดข้าววางบนตอม่อ ศิลปะมีแค่ที่นี่และที่ปุยเนี่ยเนี้ย และเหล่งปู่เอี้ย เท่านั้น จุดเด่นอีกอย่างของที่นี่ คือกระถางธูปตั้ง "กลับทิศ" เข้าสู่ศาลขณะที่ศาลอื่นกระถางธูปหันหน้าออกศาล เนื่องจากความศรัทธาจากความเชื่อเดิมเล่าต่อมาว่า เกิดเพลิงไหม้บ่อยแถวสำเพ็ง เยาวราช ทุกครั้งเมื่อมาถึงข้างหลังศาล ไฟที่โหมแรงเกิดดับไป เชื่อกันว่าองค์เจ้าแม่ช่วยปัดเป่าไม่ให้เข้ามา กลับทิศกระถางเกิดอัคคีภัยน้อยลง จากชุมชนพาดสาย เลี้ยวขวามุ่งสู่วานิช ไปยังถนนทรงวาด ลัดเลาะตามเส้นทางเล็กๆเข้าสู่ โพธิสถานมงคลธัญญ์ มงคลสถานปฏิบัติกิจ กินเจ สวดมนต์ ก่อตั้งเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ทันทีที่เดินเข้าสู่มงคลสถาน จะเห็นองค์เจ้าแม่กวนอิมหยกขาวตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในก็มีเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวปางประทานพร ถืออาวุธหยู่อี่หรือคทา นิยมขอพรให้มีสติปัญญา ความรู้ สองฝั่งซ้ายขวาเป็นพระสมันตภัทรโพธิสัตว์อัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นตัวแทนแห่งการนำความดีทั้งปวงมาเผยแผ่ ผู้ที่สวดบูชาจะได้พบกัลยาณมิตรดี เด็กได้สวดบูชาจะสอนง่ายไม่ดื้อ ซ้ายมือของเจ้าแม่กวนอิมเป็นพระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระโพธิสัตว์อันมีปัญญาเป็นเลิศ ราชสีห์พาหนะคือตัวแทนแห่งปัญญาที่สูงส่งและเต็มเปี่ยม ผู้สวดบูชาจะได้รับพรให้มีสติปัญญารอบรู้เฉลียวฉลาด บนถนนทรงวาด ย่านเศรษฐกิจ ปลายรัชกาลที่ 4 ต้นรัชกาลที่ 5 มีศาลเจ้าประจำชุมชนของชาวจีนแต้จิ๋ว ได้แก่ ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง หรือ ปึงเถ้ากง อายุ 200 กว่าปี มีวิธีวางชัยภูมิตี่ลี้ฮวงจุ้ยแบบดั้งเดิม สไตล์แต้จิ๋ว เชื่อว่าหากสักการะ เหมือนมีผู้ดูแลทุกข์สุขอย่างใกล้ชิด ฝั่งตรงข้ามคือแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเรือสำเภาที่มาจากเมืองจีนโพ้นทะเลจะมาขึ้นที่ท่านี้ ก่อนขึ้นเรือต้องมาจุดประทัดบูชาเทพปูนเถ้ากงเสียก่อน จะเข้ามาทำมาหากินขอพรให้อยู่รอดปลอดภัย ปึงเถ่ากงเป็นเทพผู้ดูแลทุกข์สุขชั้นต้น รักษามณฑลดูแลคนเกิดไปถึงตาย ทำหน้าที่เหมือนศาลหลักเมือง หรือเทียบระดับปกครอง เป็นกำนันหรือนายอำเภอ ใครเกิดต้องมาจุดธูปแจ้งเกิด คนเฒ่าคนแก่ตายต้องมาบอก ประธานกลางคือเจ้าพ่อตัวเหล่าเอี้ย เทพของจีน ในมือถือดาบ ขาเหยียบเต่าหมายถึงท่านดูแลบัญชาการทัพเรือ อีกข้างเหยียบงูดูแลบัญชาการทัพบก เป็นเจ้าใหญ่แห่งการปกครองฝ่ายบู๊ทั้งหมด คนจีนนับถือมาก ประธานศาลตั้งอยู่ในตี่ลี้ฮวงจุ้ยที่ถูกต้องของการตั้งศาลสไตล์แต้จิ๋ว ซ้ายเป็นบ่อมังกรเขียว ขวาบ่อเสือขาว เปิดกว้างรับลม ฝน น้ำ อากาศเข้ามาหมุนเวียนในศาล ให้พลังและบารมีของเจ้ากระจายอยู่ภายใน ทำหน้าที่ปัดเป่าสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามา ผู้มาสักการะจะได้รับพลังที่ดี หมุนเวียนออกไป ใครที่กำลังวางแผนทำกิจการงานใดๆ นักธุรกิจ นักบริหารไม่ว่าจะใหญ่ระดับไหน เพื่อความก้าวหน้า ในกิจการ ต่างต้องมาไหว้ ศาลเจ้ากวนอู หรืออีกชื่อหนึ่งว่าศาลเจ้าม้า อายุ 80 กว่าปี ศาลเจ้ากวนอูที่นี่นั่งบัลลังก์ พร้อมบริวาร ได้แก่ ฮวงเห็ง ชิวชางกง และผู้ดูแลม้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อแม่ทัพใหญ่ ผู้ที่มาไหว้นอกจากขอพร ความกตัญญูกตเวทีแล้ว ยังขอพรให้มีบริวารที่ดีด้วย ก้าวขั้นแห่งการทำงานที่ดี ทุกปีผู้บริหาร กระทั่งนักการเมืองชื่อดัง(บรรหาร)นิยมมาไหว้เพื่อเริ่มต้นการทำงานที่ดี ของพลังขับเคลื่อน เสน่ห์ที่ไม่เหมือนใครอีกอย่างคือม้า และเต่า กระดองเต่าตามตำราตี่ลี้ฮวงจุ้ยของตลาดเก่า วางชัยภูมิกระดองเต่าคือมี 6 ทางด้วยกัน ได้แก่ หัว หาง ขา 4 เป็นตี่ลี้เดิมของตลาดเก่าที่มีอยู่ เชื่อว่าสมัยก่อนกระดองเต่าอยู่ใจกลางตลาด หลังจากมีการพัฒนาตลาดจึงอัญเชิญมาอยู่รวมกับเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ม้าของกวนอู คนนิยมนำผักผลไม้ 5 อย่างมาบูชาให้ม้าได้กิน เชื่อกันว่ากองทัพต้องเดินด้วยท้อง ให้เรามีพลังขับเคลื่อนก้าวย่างที่ดี เหมือนกับขอกำลังใจขอพรในสิ่งที่ปรารถนา หากเป็นการขอพรจะนำเหล้าจีนมาบูชา ท่านจะชอบ ส่วนม้านิยมนำพืชผักผลไม้หรือถั่ว 5 อย่างมาถวาย พร้อมเขย่าติ้ว กล่าวว่าเฮงเฮงบ่วงเชี่ยวเฮง ตรอกอิสรานุภาพ เชื่อมต่อถนนเจริญกรุงกับเยาวราช ย่านค้าอาหารสดและแห้ง และที่ตั้งของศาลเจ้าเล่งบ่วยเอี๊ย ชื่อเต็มว่า เล่ง บ้วย โกว เนี่ย หรือศาลเจ้ามังกรเก่าของชาวจีนแต้จิ๋ว เดิมเป็นตรอกเจ้าสัวเนียม เป็นศาลที่มีอายุประมาณ 300 ปีเก่าแก่ที่สุด จากหลักฐานป้ายสรรเสริญองค์เทพเจ้า จารึกภาษาจีน ระบุสร้างขึ้นปี พ.ศ. 2201 ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง บรรยากาศภายในรักษาความเก่าแก่ดั้งเดิมของศาล ตัวเสาเป็นรูปมังกร จากเสาแรกถึงเสาด้านในมีป้ายตุ๊ยเลี้ยงประจำศาล สรรเสริญเทพประจำศาล แปลโดยรวมว่ามังกรผงาดฟ้า บารมีแผ่ทั่วไป หางมังกรสะบัดล่างลงดิน ประชาราษฎร์บริบูรณ์ ป้ายด้านบนว่าอธิษฐานอะไรสมหวังทุกประการ เล่ง บ้วย เซี้ย อ้วง กับ ฮูหยิน องค์ประธานศาล มีทหารเอกรองลงมาคือหอเฮียฮ้วง เป็นปรมาจารย์เรื่องตี้ลี่ รองประธานศาล คือกิวเทียนเนี่ยเนี้ย เทพธิดาแห่งสวรรค์เป็นปรมาจารย์ของเง็กเซียนฮ่องเต้ เก่งการวางแผนพิชัยสงครามการออกรบ ซ้ายขวาจะเห็นเทพอุ้มเด็กอยู่ คล้ายพ่อซื้อแม่ซื้อ เรียกว่าฮวยกง ฮวยม่า เด็กตั้งแต่อายุหนึ่งขวบ-สิบห้า ขอให้ปลอดภัย เด็กสมัยก่อนหากงอแงจะเอาด้ายแดงไปผูกให้เลี้ยงง่ายไม่งอแง ให้เลี้ยงโตปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้ากวนอู เทพแห่งความซื่อสัตย์พร้อมด้วยบริวาร ภายใต้ไฉ่เซ่งเอี้ย เจ้าแห่งเงินตรา จะวางแผนได้ต้องมีงบประมาณที่ดี รวมทั้งปึงเถ้ากง คุ้มครองผู้บริหารให้มีทรัพย์ที่สมบูรณ์ มีความปลอดภัย นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าเทพ ในศาลยังมีโบราณวัตถุอันมีค่ามากมาย อาทิ ป้ายโบราณเขียนสมัยพระเจ้ากวางสี ฮ่องเต้ ราชวงศ์ ชิง และที่เก่ากว่าคือป้ายที่เขียนขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ระฆังจารึกชื่อ "เฉิน ไท จื้อ" สร้างขึ้นเพื่อใช้ประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้านี้โดยเฉพาะ กระถางธูปพระราชทานพระพุทธเจ้าหลวง ผงธูปจากศาลเมืองจีน หรือสิงคโปร์ มาเลเซีย จีนแต้จิ๋ว ฮกเกี๋ยนซึ่งอพยพจากจีนทางเรือยุคแรกนำมา พร้อมผ้าแดง(ฮู้ หรือคุยกี)ผูกติดขาโต๊ะมังกร ช่วงต้นปีหลังจากห่วงเซียวจะมาไหว้พร้อมผูกเพื่อให้คุ้มครอง ทั้งปีปลอดภัยร่มเย็นผาสุก วัดบำเพ็ญจีนพรต หรือ หย่งฮกหยี จุดกำเนิดวัดจีน บนถนนเยาวราช ตรอกเต๊า เคยเป็นศาลเจ้าร้าง ต่อมาพระอาจารย์ซกเหงจากเวียดนามได้มาบูรณะที่นี่ ก่อนที่จะไปสร้าียดนาม ได้รับป้ายนามพระราชทานจากองค์พระพุทธเจ้าหลวง ปัจจุบันมีพระจีนจำนวน 9 รูป ชาวจีนที่อพยพมาแรกๆนำผงธูปพากเข้ามาด้วยเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว พอรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนเขียนชื่อเป็นกระดาษ ซิงบ้างตัวเทพเจ้าบ้าง ต่อจากนั้นช่างแกะงานศิลปะเริ่มเข้ามาแกะสลักตัวองค์เทพที่นับถือ อาจจะเป็นไม้ ปูน กระดาษ เดินข้ามประตูเข้ามาพบกับองค์พระสังกัจจา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook