พังเสียได้ก็ดี! เสียงสะท้อนจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงประตูช้างเผือกที่พังทลายลงมา

พังเสียได้ก็ดี! เสียงสะท้อนจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงประตูช้างเผือกที่พังทลายลงมา

พังเสียได้ก็ดี! เสียงสะท้อนจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงประตูช้างเผือกที่พังทลายลงมา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ความเสียหายของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะประตูช้างเผือก ที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ได้เกิดพังทลายลงมาเนื่องจากพายุฝนที่รุนแรง

ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายๆ แง่มุม บ้างก็บอกว่าเสียดายที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่ได้พังทลายลงมาแบบนี้ แต่ก็มีอีกกระแสเช่นกันที่บอกว่าการพังทลายของกำแพงนั้นเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นแล้ว เพราะมองว่ากำแพงแห่งนี้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่และเป็นสิ่งแปลกปลอม

โดยทางศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำริห์กุล สังกัดภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพังทลายของประตูช้างเผือกนี้ไว้ได้อย่างน่าสนใจผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยมีใจความว่า

"ประตูช้างเผือกไม่ใช่โบราณสถานแต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ที่เป็นทัศนอุจาดบนที่ดินโบราณสถาน(พังเสียได้ก็ดี)สืบเนื่องฝนตกหนักเมื่อวานนี้ ทำให้ประตูช้างเผือก เมืองเชียงใหม่ พังทลายถล่มลงมาท่ามกลางความตกใจและเสียดายของชาวเชียงใหม่แต่ผมว่าโชคดีนะพังทลายลงได้เสียก็ดีเพราะจะได้รู้กันเสียทีว่า ประตูเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกปลอม ก่อสร้างขึ้นใหม่โดยการออกแบบอย่างน่าเกลียดน่าชัง เพราะมันไม่ใช่ลักษณะและแบบแผนของประตูเมืองที่เป็นสากล(ต่างชาติมาเห็นก็ตลก คิดว่าเมืองเชียงใหม่กระจอก ถึงได้เป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งนาน)โดยข้อเท็จจริงประตูเมืองเชียงใหม่ที่เห็นในปัจจุบัน ล้วนเป็นสิ่งสร้างใหม่ทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะประตูเมืองของเมืองโบราณเชียงใหม่ถูกไถทำลายไปหมดแล้ว(มีรูปประตูเมืองเก่าเหลืออยู่ 2 รูป คือ ประตูท่าแพ กับประตูช้างเผือก)รวมทั้งอิฐกำแพงเมืองเก่าก็ถูกประมูลขายอิฐ เพื่อให้บ้านเมืองกว้างขวางทันสมัยตั้งแต่สมัยกระทรวงธรรมการต่อมาเทศบาลเมืองเชียงใหม่(ในขณะนั้น)เมื่อราวแปดสิบปีที่ผ่าน มา(สมัยนายทิม โชตนา เป็นนายกเทศมนตรี)ได้ออกแบบและสร้างประตูขึ้นใหม่ 5 ประตู(โดยไม่มีพื้นฐานของหลักฐานเก่าเลย)ทุกวันนี้คนเชียงใหม่ลืมหมดแล้ว คิดว่าประตูที่เห็น คือ ประตูช้างเผือก สวนดอก เชียงใหม่ และสวนปุง เป็นโบราณสถานเก่าแก่ของเมืองยกเว้นประตูท่าแพในปัจจุบันนั้น นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ผวจ.เชียงใหม่ ได้รื้อประตูที่เทศบาลสร้างใหม่ออกและขออนุญาตกรมศิลปากรสร้างใหม่ตามรูปแบบภาพเก่าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529ดังนั้นขอชาวเชียงใหม่เข้าใจเสียให้ถูกต้องว่าประตูช้างเผือกที่พังทลาย ไม่ใช่โบราณสถานเก่าแก่ รวมทั้งสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ถ้าคิดจะบูรณะประตูช้างเผือกตามแบบเก่า ก็เสียงบประมาณแผ่นดินเปล่า เพราะไม่ใช่โบราณสถานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กทม. มีภาพเก่าของประตูช้างเผือกอยู่คงเป็นโอกาสอันดีที่กรมศิลปากรจะได้ร่วมมือกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับเมืองเชียงใหม่อีกครั้งเช่นเดียวกับประตูท่าแพที่ได้สร้างใหม่ตามภาพถ่ายเก่ามาแล้วอีกสองสามวันพายุใหญ่จะเข้าเชียงใหม่ ฝนคงตกหนัก เพี้ยง !! ภาวนาว่าขอให้ประตูเมืองอุจาดสร้างใหม่ที่เหลืออยู่อีก 3 ประตูพังทลายลงให้หมด เสียได้ก็ดีครับ"

พร้อมกันนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำริห์กุล ยังได้โพสต์ภาพของประตูช้างเผือกในอดีตให้ประชาชนได้เห็นกันอีกด้วย

308872620_3314848118803850_39

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ ของ พังเสียได้ก็ดี! เสียงสะท้อนจากผู้เชี่ยวชาญ ถึงประตูช้างเผือกที่พังทลายลงมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook