"งานบุญเดือนสิบ" ประเพณีสะท้อน..วิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย

"งานบุญเดือนสิบ" ประเพณีสะท้อน..วิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย

"งานบุญเดือนสิบ" ประเพณีสะท้อน..วิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเพณีรับ-ส่งตายาย ถือเป็นประเพณีท้องถิ่นของคนใต้ที่มีมาแต่โบราณ จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิบ หรือประมาณเดือนกันยายน  เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ-วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี เลยถูกเรียกว่า "ประเพณีสารทเดือนสิบ"  

ประเพณีงานบุญเดือนสิบ จะมีอยู่ทั่วประเทศแต่จะมีการเรียกที่แตกแต่งกันออกไป อย่างเช่น 

ภาคเหนือ เรียกว่า กินก๋วยสลาก,ทานก๋วยสลาก,ตานก๋วยสลาก,ตานสลาก,กิ๋นข้าวสลาก,กิ๋นก๋วยสลากหรือกิ๋นสลาก เป็นต้น 

ภาคอีสาน เรียกว่า บุญข้าวสากหรือข้าวสลาก

ภาคกลาง เรียกว่า  สลากภัตรและสลากกระยาสารท

ภาคใต้     เรียกว่า ประเพณีทำบุญเดือนสิบ หรือรับ-ส่งตายาย

ความสำคัญของประเพณีรับ-ส่งตายายก็คือ เหล่าบรรดาลูกหลาน จะจัดขนมหรือผลไม้มาให้ตากับยายเพื่อขนกลับติดตัวไปให้มากที่สุด เพราะในปีนึงจะลงมาหาลูกหลานแค่ 2 สัปดาห์ เท่านั้น เมื่อมีขนมหลักครบแล้ว ขนมที่เหลือจะจัดเสริมขนมอะไรลงไปอีกก็ได้ เอาที่ตากับยายชอบ

ความหมายของขนมในแต่ละชนิด ได้แก่ 

ขนมลา = แพรอาภรณ์ 

ขนมไข่ปลา = เครื่องประดับ(คล้ายพวกกำไล) 

ข้าวพอง(นางเล็ด) = นาวาพาข้ามลำน้ำกลับไปสู่ภพ

ขนมดีซำ = เบี้ย เหรียญ

ขนมสะบ้า = ลูกสะบ้า ไว้ละเล่น

เป็นขนมหลักๆ ที่ต้องให้บรรพบุรุษติดตัวกลับไป

โดยขนมส่วนใหญ่ล้วนทำจากแป้งข้าวเหนียว ไส้ขนมไข่ปลาทำจากถั่วลิสงและน้ำตาลปี๊บ ไส้ขนมมดมีทั้งแบบถั่วลิสง และไส้มะพร้าว ผัดกับน้ำตาล เอาชุบแป้งข้าวเหนียวนำมาทอดในน้ำมันเดือดจนพองกรอบ 

ขนมลาเป็นแป้งข้าวเจ้า บางพื้นที่อย่างนครศรีเขานิยมลาทั้งแบบกรอบและแบบนิ่ม เพราะมีลักษณะพริ้วเหมือนเสื้อผ้าอาภรณ์ตามความเชื่อ ส่วนขนมที่หายากอย่าง ขนมดีซำและขนมสะบ้า ชาวสมุยต้องไปซื้อถึงสุราษฎร์ หรือไม่ก็ต้องทำเอง

ขอขอบคุณ บ้านป้าลวด หมู่3 ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ถ่ายทำค่ะ 

อัลบั้มภาพ 32 ภาพ

อัลบั้มภาพ 32 ภาพ ของ "งานบุญเดือนสิบ" ประเพณีสะท้อน..วิถีชีวิตของชาวเกาะสมุย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook