หาตัวตนฅนใต้ในประเพณีสารทเดือนสิบ

หาตัวตนฅนใต้ในประเพณีสารทเดือนสิบ

หาตัวตนฅนใต้ในประเพณีสารทเดือนสิบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีนมีงานเทศกาลกินเจ ชาวใต้ก็มีประเพณีสารทเดือนสิบซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานกลับบ้านร่วมทำบุญให้กับบรรพบุรุษ ครั้งนี้ "นายรอบรู้" มีโอกาสไปร่วมงานประเพณีสารทเดือนสิบ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งกำหนจัดงานขึ้นในวันที่ 17-26 กันยายน 2557


ตามความเชื่อว่าในช่วงประเพณีสารทเดือนสิบเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยภูตผีมาจากนรก ชาวใต้เชื่อกันว่าวันปล่อยผีคือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นครั้งเดียวในรอบปีที่ลูกหลานจะได้อุทิศส่วนบุญกุศลให้เหล่าบรรพบุรษโดยชาวใต้จะเรียกผีบรรพบุรุษว่า "ตา ยาย"

ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ถือเป็นวันแห่หมฺรับ ปีนี้ตรงกับวันที่ วันที่ 22 กันยายน "หมฺรับ" แปลว่า สำรับ เป็นการจัดสำรับประกอบด้วยเครื่องอุปโภค-บริโภคและขนม5 อย่างคือ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมบ้า และขนมดีซำหรือเบซำ ไปถวายพระแล้วอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษด้วย ขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมาย ขนมพองหมายให้เป็นแพฟ่อง ล่องลอยพาตายายล่วงข้ามมหรรณพหรือวัฏสงสาร ขนมลาให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม ขนมกงหรือบางครั้งก็ใช้ขนมใข่ปลาหมายเป็นเครื่องประดับ ขนมบ้าให้เป็นลูกสะบ้าไว้เล่นตอนสงกรานต์ และขนมดีซำหรือเบซำให้ไว้เพื่อเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย นอกจากนี้ภายในหมฺรับยังมีข้าวสาร ผลไม้ ดอกไม้ ธุปเทียนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 22 กันยายน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดเป็นขบวนแห่ใหญ่ เริ่มจากสนามหน้าเมือง ถนนราชดำเนินในตัวเมือง หลายหน่วยงานต่างจัดทำหมฺรับอย่างสวยงาม บ้างก็จัดเป็นรถบุษบกอย่างยิ่งใหญ่ บางก็จัดเป็นขบวนเปรต ภูตผี แห่ตามถนนราชดำเนินสองข้างทางมีชาวนครศรีธรรมราชออกมาทำบุญและถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน

ขบวนที่สนุกที่สุดคงเป็นเหล่าบรรดา "นายพราน" ซึ่งเป็นตัวตลกในการแสดงมโนราห์ทางภาคใต้ ชาวใต้ถือว่าหน้าพรานหรือหน้ากากพรานถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ในการมโนราห์เลย ทั้งยังเรื่องเล่าว่าตายายชอบมาเข้าทรงแล้วเรียกให้ลูกหลานมารำนายพรานหรือภาษาถิ่นเรียกว่า "ออกพราน"ให้ดู ทำให้ขบวนแห่จึงมีเหล่านายพรานน้อย นำหน้าขบวนเรียกความสนใจได้ไม่น้อย ขบวนเคลื่อนมาสุดที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งภายในคลาคล่ำไปด้วยชาวนครศรีรรมราชและนักท่องเที่ยวที่ต่างเข้าไปสักการะพระบรมธาตุอย่างคึกคัก

เดินเข้ามาภายในระเบียงคดซึ่งล้อมรอบพระธาตุเอาไว้ แม้จะดูวุ่นวายเคล้าเสียงดังแว่วสำนียงใต้ที่เรียกลูกหลานให้มาทำบุญและถวายภัตตาหารบริเวณระเบียงคด ท่ามกลางภัตตาหารนั้นมีหมฺรับด้วยซึ่งตกแต่งเป็นรูปทรงพระบรมธาตุอย่างปราณีต

ก่อนที่จะเข้าไปไหว้พระบรมธาตุต้องผ่านวิหารพระม้า มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วิหารพระมหาภิเนษกรมณ์ ภายในวิหารมีบันไดที่ประดับประติมากรรมที่น่าสนใจคือยักษ์คู่ คือเทวเวฬุราชและท้าวเวชสุวรรณ ครุฑคู่ คือ ท้าววิรุฬปักษ์และท้าววิรุฬหก นาคคู่ คือท้าวท้าวทตตรฐมหาราชและท้าวทตตรฐราช ถัดมาข้างประตูคือรูปปั้นกษัตริย์ลังกาด้านซ้ายคือขัตตุคามและขาวคือท้ามรามเทพ ส่วนบานประตูเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระพรหมและพระนารายณ์ ถือเป็นโอกาสพิเศษที่ได้เข้าไปไหว้พระบรมธาตุเจดีย์ ศูนย์รวมจิตใจของชาวใต้ที่แสดงถึงตัวตนตนใต้ได้อย่างเด่นชัด

ในช่วงเวลาเที่ยงวัน แดดแผดเผาเหงื่อไคลไหลตก ทว่าก็ไม่สามารถหยุดศรัทธาของชาวใต้และนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาสักการะพระบรมธาตุสักครั้งในชีวิตได้

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ ของ หาตัวตนฅนใต้ในประเพณีสารทเดือนสิบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook