15 เรื่องในเมืองเลยที่คุณไม่เคยรู้

15 เรื่องในเมืองเลยที่คุณไม่เคยรู้

15 เรื่องในเมืองเลยที่คุณไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จังหวัดเลยตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีสถานที่ท่องเที่ยวอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย หลายคนอาจเคยไปเที่ยวหรือสัมผัสเมืองเลยมาหลายคร้้งแล้ว ทว่าเคยรับรู้ 15 เรื่องเหล่านี้ไม่

1. "เลย" มีชื่อมาจากแม่น้ำ หลายคนสงสัยว่าจังหวัดเลยชื่อแปลกนี้มาจากไหน ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฎิรูปการปกครองทั่วราชอาณาจักร บริเวณจังหวัดเลยในขณะนั้นมีชุมชนใหญ่ใกล้กับแม่น้ำเลยอันมีต้นน้ำจากภูหลวงไหลผ่านอำเภอต่างๆก่อนไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน พระองค์ทรงให้เรียกเมืองตามแม่น้ำว่า เมืองเลยมาตั้งแต่ปี 2440

2. คนเลยต่างจากคนถิ่นอื่นในภาคอีสาน ถ้าใครไปเที่ยวเมืองเลยต้องแปลกใจกับสำเนียงถิ่นของที่นี้ เพราะจะเป็นสำเนียงอีสานเสียที่เดียวก็ไม่ใช่ จะสำเนียงเหนือก็ไม่เชิง ว่ากันว่าคนเลยมีสำเนียงคล้ายคลึงกับสำเนียงลาวหลวงพระบาง ต่างกับสำเนียงภาษาอีสานถิ่นอื่นที่จะมีความคล้ายกับลาวเวียงจันทน์

3. มีดงนางพญาเสือโคร่งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ "ภูลมโล" เป็นที่เที่ยวใหม่ล่าสุดของจังหวัดเลย ตั้งอยู่เขตอำเภอด่านซ้าย มีต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นแสนต้นบนเนื้อที่กว่า 1,200 ไร่ ดอกนางพญาเสือโคร่งจะเริ่มผลิดอกราวเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ (สอบถามข้อมูลได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย โทร080-791-4748)

4. เส้นทางปากชม-เชียงคาน เป็นจุดชมแม่น้ำโขงที่สวยที่สุดแห่งประเทศ ถนนทางหลวงหมายเลข 211 ช่วงอำเภอปากชมถึงอำเภอเชียงคานเป็นจุดชมพระอาทิตยน์ตกริมฝั่งโขงที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงที่หน้าน้ำแล้งคือช่วงหน้าหนาวถึงหน้าร้อน

5. "แม่คะนิ้ง" คำนี้มาจากเมืองเลย ด้วยเลยมักติดอยู่ในจังหวัดที่หนาวที่สุดของประเทศทุกปี เคยมีการเก็บสถิติว่าจังหวัดเลยเคยหนาวที่สุดอยู่ที่-03.องศาเซลเซียลที่อำเภอภูเรือ จนเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งมาแล้ว ชาวบ้านแถบนี้เรียกปรากฎหารณ์นี้ว่า "แม่คะนิ้ง"

6. พบรอยเท้าไดโนเสาร์อย่างน้อยสองรอยที่เลย ภูเขาในเมืองเลยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ จึงไม่แปลกที่จะพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทั้งที่ภูหลวงพบรอยเท้าของคาโนซอร์ซึ่งเป็นพันธุ์กินเนื้อมีชีวิตอยู่เมื่อประาณ 450 ล้านปีและอีกที่หนึ่งคือ ภูลมโลพบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่เช่นกันอายุประมาณ 140 ล้านปี

7. ไปดูฟูจิที่เมืองเลย ถ้าพูดกันเล่นๆว่าไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็เห็นภูเขาไฟฟูจิได้ จริงๆเป็น "ภูหอ" ตั้งโดดเด่นอยู่ท่ามกลางที่ราบ เมื่อมองจาก"ภูป่าเปาะ" ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านผาหวาย ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย ซึ่งอยู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต นับเป็นที่เที่ยวใหม่ของเมืองเลย เหตุที่ภูหอมีลักษณะคล้ายภูเขาไฟฟูจิ เนื่องจากยอดตัดราบซึ่งเป็นลักษณะเด่นของภูเขาในเมืองเลยที่เกิดจากการก่อตัวของหินทรายโดยกัดเซาะจนกลายเป็นภูเขายอดตัดอย่างที่ภูกระดึง หรือภูหลวง

8. ที่นี้ใช้น้ำผักสะทอนแทนปลาร้า ถือเป็นเครื่องปรุงอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอำเภอด่านซ้ายและอำเภอหน้าแห้ว มีกลิ่นคล้ายกับซี้อิ้ว ทำมาจากใบสะทอนซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง นิยมใส่ในส้มตำ แจ่ว แกงเกือบทุกชนิด

9. เส้นเขตแดนแค่ข้ามคลอง ตั้งอยู่อำเภอนาแห้ว เส้นเขตแดนที่ว่านี้คือแม่น้ำเหืองมีความกว้างเพียงไม่กี่เมตร ในช่วงที่น้ำลดผู้คนจากสองฝั่งสามารถเดินลุยน้ำข้ามไปหากันได้ นักท่องเที่ยวที่จะข้ามไปต้องไปทำหนังสือเดินทางด่านตรวจบ้านเหมืองแพร่เสียก่อน

10. แมกคาดาเมีย สตรอว์เบอร์รี่ของเด่นของบ้านบ่อเหมืองน้อย บ้านบ่อเหมืองน้อยเป็นแหล่งปลูกแมกคาดาเมียที่ใหญ่แค่หนึ่งของประเทศ สินค้าโอทอปของที่นี้จึงเป็นแมกคาดาเมียอบ แมกคาดาเมียเคลือบช็อกโกแลต ทั้งยังมีแปลงสตรอว์เบอร์รี่ด้วย ยิ่งในช่วงหน้าหนาวที่นี้จะเต็มไปด้วยหมอกและแปลงสตรอว์เบอร์รี่ก็สุก นักท่องเที่ยวสามารถไปเก็บกินได้เลย

11.ถ้าคุณแน่!!! ลองเที่ยวภูกระดึงแค่คืนเดียว คนทั่วไปเที่ยวภูกระดึงสองคืนสามวัน "นายรอบรู้" ขอท้าใครแน่จริงเที่ยวภูกระดึงให้ได้หนึ่งคืนสองวัน โดยมีข้อแม้ต้องไปชมพระอาทิตจ์ตกที่ผาหล่มสักด้วย ใครที่คิดว่าตัวเองแข็งแรงลองทำดู เดินขึ้นภูกระดึงตั้งแต่ช่วง 08.00 น. แล้วมาถึงหลังแปให้ได้เวลา 12.00 น. แวะกินข้าวที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยงวังกวาง จากนั้นเดินตามเส้นทางไปผาหล่มสัก แนะนำให้ถึงก่อนเวลา 16.30 น. ถ่ายรูปพระอาทิตย์แล้วรีบกลับมานอนที่ศูนย์บริการฯ จากนั้นตอนเช้าตื่นมาชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น แล้วเดินลง ขอบอกว่าเหนื่อยสุดๆๆ

12.ห้ามใส่สีแดงขึ้นสักการะพระธาตุศรีสองรัก สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย ไม่ชอบสีแดงตามความเชื่อของชาวบ้าน เพราะสีแดงเป็นสีแห่งเลือด การฆ่า นตลอด 400 ปีที่ผ่านมา พิธีฉลองสมโภชพระธาตุศรีสองรักจึงไม่มีการฆ่าสัตว์บริเวณองค์พระธาตุ ทุกคนที่เข้าสักการะต้องไม่สวมเสื้อผ้าอาภรณ์"สีแดง" เข้าไปในเขตพระองค์ธาตุด้วย

13. พระธาตุดินแทนสร้างจากดินถม 200 ปี ตั้งอยู่บ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว เป็นพระธาตุที่ต่างจากที่อื่น เพราะสร้างจากดินที่มีผู้ศรัทธามากองทับถมกันเป็นเวลานานกว่า 200 ปี ตามตำนานกล่าวว่ามีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินทางมาที่นี้ พร้อมกับบอกให้ชาวบ้านเลิกนับถือผีแล้วหันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นโดยการนำดินมาถมขึ้นเป็นในวันเพ็ญ เดือน 12 ปี 2313 นับตั้งแต่นั้น ในช่วงวันพระ ชาวบ้านบ้านแสงภาจะถือศีลทำบุญซึ่งปฎิบัติสืบมากันมาตลอด

14. เมเปิลคือพืชพื้นถิ่น เมเปิลหรือก่วมแดง เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ที่ชอบขึ้นตามลำธารบนป่าดิบเขาที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 1,300-2,400 เมตร ใบมีสีแดงรูปสามแฉก ต่างจากเมเปิ้ลต่างประเทศที่ใบมีห้าแฉก

15. ลูกเสือชาวบ้านกำเนิดที่นี่ ในครั้งที่แนวคิดคอมมิวนีสต์แพร่หลายไปทั่ว รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายดึงชาวบ้านมาเป็นฐานกำลังให้ลุกขึ้นต่อต้านโดยการสร้างลูกเสือชาวบ้านขึ้น อำเภอนาแห้วพื้นที่ที่มีการคุกคามจากคอมมิวนีสต์ทั้งยังตั้งอยู่ถิ่นทุรกันดาร รัฐบาลจึงริเริ่มให้บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้วเป็นสถานที่ฝึกลูกเสือชาวบ้านครั้งแรก

อัพเดตสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น เกาะล้าน เชียงใหม่ สวนผึ้ง หัวหิน เกาะเสม็ด

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ ของ 15 เรื่องในเมืองเลยที่คุณไม่เคยรู้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook